วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

Lighting based Composition 4


      บทความคราวนี้ เราจะว่ากันถึงเรื่องการ Composition ภาพด้วยเทคนิคการ crop ภาพ โดยใช้เทคนิคต่างๆ ให้เรา crop ภาพเพื่อเน้นจุดสนใจ ก่อนอื่นเรามาดูเรื่อง ภาพ ขาวและดำกันก่อน


    
 ลองดูภาพแมวสองตัวนี้นะคะ เราจะเห็นว่าในภาพแมวตัวสีขาวน่าจะมีขนาดที่ใหญ่กว่า  แต่จริงๆแล้วนั้น แมวสองตัวนี้มีขนาดตัวที่เท่ากัน ฉะนั้นการรู้จักการใช้งานเรื่องความมืดและความสว่างให้เป็นประโยชน์ สามารถนำมาช่วย ลวงตา ผู้ชมได้

Shadow
     เงานอกจากเป็นสิ่งที่ช่วยบงบอกทิศทางของแสงหลัก แล้วบอกเวลาได้ เงายังมีประโยชน์ที่นำมาช่วยในการ crop ภาพ เพื่อช่วยในการเน้นจุดสนใจได้อีกด้วย ตัวอย่าง

1. การ crop ภาพด้วยเงา


ภาพนี้มาจาก Animation เรื่อง Puss in Boots

            จากภาพ ใช้ขอบเขตของเงามาเป็นตัว crop ภาพให้เน้นจุดสนใจไปที่รูปภาพวาด ที่เล่าความหลังถึงเรื่องวัยเด็กของตัวเอกในเรื่อง
 
 

         ภาพนี้ จุดสนใจอยู่ที่แมวสีขาว แต่อาจจะเพราะแมวใน scene นี้ มีขนาดเล็กมาก  การที่ใช้เงาช่วยในการ crop เพื่อช่วยกำหนดขอบเขตจุดเด่นของภาพ ทำให้เรามองเห็นจุดสนใจในภาพชัดเจนขึ้น

2. การใช้เงาสร้างภาพลวงเรื่องขนาด 


        ภาพนี้มาจาก Animation เรื่อง Mulan  ชอทนี้ เป็นชอทที่มังกร แสดงตัวออกมาเหมือนเป็นผู้ยิ่งใหญ่ น่าเกรงกลัว


       ในชอทมองเห็นแต่เงาและได้จากจัดสองจากด้านล่าง การใช้สีแดงช่วยทำให้อารมณ์ในชอทนี้เพิ่มความน่ากลัวมากขึ้น


แต่ชอทนี้ก็มาเฉลยว่าที่จริงแล้วเป็นมังกรกระจอก ตัวเล็กนิดเดียว   ลองมาดูอีกสักหนึ่งตัวอย่างนะคะ
 


        ภาพนี้มาจาก Animation เรื่อง Puss in Boots  เล่าเรื่องมาด้วยใช้เงาคน ขนาดใหญ่กำลังเดินเข้ามาในร้านเหล้า ดูน่ากลัว


ใช้ชอทให้เห็นเงา เทียบขนาดกันคน แล้วลวงมาดูใหญ่กว่าคนมาก


แล้วมาเฉลยตอนท้ายว่าที่จริงแล้วคนที่เข้ามาตัวเล็กนิดเดียวเท่านั้น

3. การใช้รูปร่างของเงา เล่าสถานะการณ์ไม่จริง

 
          
          ภาพนี้มาจาก Animation เรื่อง Puss in Boots  เล่าว่าคนสองคนกำลังทุบ ตัวละครที่เป็นไข่ในเรื่องจบ ไส้ไหลออกมาจากตัว  เพราะหลอกตัวละครในเรื่องว่า ตัวไข่โดนทำร้าย


     
    สุดท้ายก็มาเฉลยที่ชอทต่อมา ว่าจิงๆแล้วเป็นขวดแชมเปญ

4. การให้ตัวละครค่อยๆ เดินออกมาจากเงา เพื่อสร้างความน่าสนใจ


 ภาพนี้มาจาก Animation เรื่อง up  เป็นชอทที่เปิดตัว ตัวร้ายในเรื่อง ที่จะค่อยๆเดินออกมาจากเงามืด


ส่วนมากจะใช้เพื่อให้ตัวละครค่อยๆ เผยหน้าตาออกมา เพื่อสร้างความตื่นเต้น


          จากอีกเรื่องหนึ่ง คล้ายกันคือ Kung Fu Panda  ชอทเปิดตัว ตัวร้าย โดนทำให้อยู่ในเงามืดก่อน โดยจงใจทำตาให้เป็นสีขาวเพื่อให้ดูน่ากลัวมากขึ้น


แล้วมาเปิดตัวให้เห็นชัดเจนที่ชอทนี้


วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Lighting based Composition 3

       บทความคราวนี้ เราว่าด้วยเรื่องการจัดแสงอีกแบบหนึ่ง คือการจัดแสงแบบเน้นเฉพาะส่วน เช่นเน้น ดวงตา ใบหน้า หรือส่วนอื่นที่เราต้องการ โดยใช้เทคนิคการบีบขอบเขตของไฟ ให้มีส่วนที่แสงตกกระทบน้อยลง หรืออยู่ในวงจำกัด โดยเทคนิคนี้ ใช้มาตั้งแต่สมัยนานมาแล้ว โดยผู้ที่เป็นต้นแบบได้แก่จิตรกรผู้หนึ่ง ชื่อว่า   Rembrandt Harmenszoon van Rijn  ส่วนมากนิยมเรียก Rembrandt 
เป็นจิตรกรและช่างพิมพ์  เป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดคนหนึ่งของโลก


ส่วนมาก ช่างไฟ ( ช่างไฟจริงๆ )  หรือช่างภาพ มักจะรู้จักกันดีในสูตรการจัดแสง สูตรหนึ่งที่เรียกว่า
Rembrandt  Lighting  ที่นิยมนำสูตรนี้มาใช้ในการจัดแสงแบบ portrait  
        จุดเด่นที่เป็นสไตล์ของคุณลุงเค้าคือ การเน้นความสว่างแต่เฉพาะจุดที่ต้องการแบบชัดเจน แล้วส่วนอื่น จะปล่อยให้มืด แต่ไม่มืดจนดำ 

รูปนี้เน้นแสงพาดแค่ในหน้าและเสื้อด้านบน ส่วนอื่นปล่อยให้มืดไว้


ภาพนี้ เน้นแสงส่องลงมาที่ตัวศพชัดเจน ส่วนอื่นของห้องเน้นมืด เพื่อไม่ให้แข่งจากจุดเด่นเลย


รูปนี้เน้นแค่ใบหน้าด้านข้าง
 



สังเกตได้จากตัวอย่างว่า รูปของเค้านั้นจุดเด่นจะชัดเจนมาก ภาพสามารถบังคับสายตาเราให้ไปเพ่งมองอยู่ที่จุดเดียว  จุดที่ไม่เน้นก็เพียงให้เหลือ form ไว้แต่ไม่ชัดเจนมาก แล้วสำหรับเราแล้ว เราจะนำวิธีนี้มาใช้อย่างไร
  

 ในการจัดแสง portrait แบบ  Studio lighting ก็สามารถนำ
Rembrandt  Lighting มาใช้ได้

แล้วสำหรับวงการ ภาพยนตร์ หรือ Animation ก็นำ Rembrandt  Lighting มาใช้กันบ่อยๆเช่นเดียวกัน




ภาพนี้จัดแสงแบบเน้นดวงตาชัดเจนมาก

นี้คือการจัดแสงอีกสูตรหนึ่งที่น่าสนการนำไปใช้ ในสถานการณ์ที่เราต้องการจะเน้นจุดสนใจเฉพาะจุด เพราะจะช่วยให้คนดู สนใจที่จะที่เราจะเน้นเพียงจุดเดียวชัดเจน ลองนำไปปรับใช้ดูนะคะ

ตอนต่อไปจะเป็นเรื่องการ crop ภาพ เพื่อเน้นจุดสนใจด้วยเทคนิคต่างๆ และการวางองค์ประกอบภาพด้วยเงา ฝากติดตามด้วยนะคะ




วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Lighting based Composition 2

       บทความในครั้งนี้ ต่อเนื่องจากตอนที่แล้วคะ เราได้เห็นการจัดแสงแบบเน้นจุดสนใจและการเล่าเรื่องเป็นหลัก ในแบบต่างๆไปบ้างแล้ว คราวนี้ เราจะขยายความในการเล่าเรื่องที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ลองมาศึกษาจากตัวอย่างเพื่อความเข้าใจกันเลยคะ



      ชอทนี้เริ่มเป็นชอทที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพราะมีตัวละครที่เพิ่มมากขึ้นจากคราวที่แล้ว ที่มีเพียงหนึ่งหรือสองเท่านั้น ทุกท่านคงเริ่มเห็นแล้วว่า ชอทนี้ จะเน้นอยู่ที่ใด.....


 นั่นไงคะ จุดเด่นอยู่ที่สาวสวยที่แอบฟังหนุ่มๆเค้าคุยกัน ชอทนี้มีเทคนิคหลักคือเรื่องการใช้ความสว่างในการเน้นจุดสนใจไปที่ตัวละครหลักอย่างชัดเจน แต่สังเกตได้ว่ามีผู้ท้าชิงความสนใจ เป็นชายหนุ่มที่อยู่หลังประตู ที่มีความสว่างที่รุณแรงใกล้เคียงสาวสวยที่เป็นจุดเด่นของเรา แต่ในชอทนี้ก็มีเทคนิคการเน้นจุดสนใจอื่นเข้ามาผสมเข้าไปด้วย นั้นคือการจำกัดพื้นที่ของแสง ลักษณะคล้ายการ crop ภาพ ทำให้เป็นการเน้นจุดสว่างชัดเจนมากขึ้น สาวสวยจึงชิงความโดดเด่นกลับมาได้ไม่ยากนัก เดี๋ยวเราจะมาพบตัวอย่างถัดไปที่ซับซ้อนกว่านั้นอีก

        ตัวอย่างต่อไปนี้ ใช้เรื่องการจัดแสงแบบเน้นจุดสนใจที่ชัดเจนกว่างานแสดงในแบบอื่นๆ นั้นคือการจัดแสงในละครเวที จะมีเครื่องมือที่ใช้เป็นประจำนั่นคือไฟ Follow  เพราะงานจัดแสงละครเวทีนั้น ถือว่าใกล้เคียงการจักแสงใน โปรแกรม 3D มาก โดยมีการเริ่มการห้องที่มืดสนิท แล้วเราก็เติมไฟไปเรื่อยๆ follow light  จิงมีความจำเป็นมาก เรียกว่า ตัวละครไปไหน ไฟก็จะตามไปตลอด



     อันนี้เป็นตัวอย่างที่ยากขี้น นั้นคือการมีคนจำนวนมาก ซึ่งเริ่มเป็นงานที่ยากสำหรับคนจัดแสง ถ้าเราไม่รู้ว่า เนื้อเรื่องในตอนนั้นเป็นเช่นไร หรือตัวละครตัวไหนต้องมีบทพูด ตัวเด่นตัวรองคือใคร ดังนั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่เราต้องรู้เรื่องเหล่านี้ อย่างตัวอย่างนี้ มีการเน้นจุดเด่นจัดเจนไปที่ตัวแสดงที่อยู่ตรงกลาง นอกจากนั้นยังมีสีเสื้อผ้ามาช่วยด้วย โดยที่ตัวประกอบอื่นๆ ใส่เสื้อสีเขียวทั้งหมด ความต่างของสีเสื้อตัวเอง เลยยิ่งทำให้ตัวเอกเด่นขึ้น

 ตัวอย่างต่อไป


ตัวอย่างต่อไปนี้ จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นการเล่าเรื่องผ่านตัวละครที่อยู่ด้านหลัง ที่กำลังสนใจการกระทำที่อยู่ด้านหน้ากล้องด้วย โดยสิ่งที่เราจะเน้นจุดสนใจนั้นไม่ได้มีเพียงจุดเดียว แต่มีถึงสอง แต่หน้าที่ของเรา คือต้องกำหนดลำดับการทำดูให้แก่ผู้ชมว่าควรจะดูที่ตัวละครตัวไหน โจทย์จะเป็นประมาณนี้คะ
    
" ตัวละครด้านหลัง (ที่วงกลมสีแดง)กำลังเห็นว่าตัวละครด้านหน้าสองคนกำลงเดินไปในตรอกด้วยกัน "

ในชอทนี้เลยใช้แสงวงกลมเน้นตัวละครที่ด้านก่อน แล้วค่อยมีเวลามาดูตัวละครด้านหน้าต่อ



ต่อไปเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจมาก คุณจะได้เห็นว่าหนังดังบางเรื่อง ไม่ได้สนใจด้านความถูกต้องมากนัก แต่เน้นการเล่าเรื่องและเน้นจุดเด่นล้วนๆ


ภาพนี้ เรื่องเวลาต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เห็นอะไรหรือไม่คะ ชอทที่ดูแล้วถึงจะดูคล้ายกัน แต่มีมันความต่างกันอยู่ นั้นคือจุดที่ต้องการให้คนดูสนใจดูเป็นอันดับแรก



มาคะ วงกันเห็นชัดๆไปเลย นี่คือจุดสนใจที่แต่ละชอทต้องการจะเน้น โดนใช้เทคนิคพื้นฐานคือการเน้นด้วยความสว่างที่มากกว่าจุดอื่น

-รูปบน  นั้นเล่าเรื่องโดนเน้นจุดที่ตัวละครสนใจคือ ร้านเหล้า ซึ่งตัวละครนั้นได้อยู่ในเฟรมด้วย
-รูปล่าง  นั้นเล่าเรื่องโดนเน้นจุดที่ตัวละครสนใจคือ ป้ายร้านเหล้า ให้คนดูได้อ่านป้ายด้วย ซึ่งตัวละครนั้นยืนอยู่นอกเฟรม ชอทนี้จะเป็นในลักษณะแทนสายตาตัวละครที่อยู่นอกเฟรม


ต่อไปเราจะเปรียบเทียบให้เห็นอีกประเด็นหนึ่ง


สังเกตหรือไม่ว่า Location เดียวกัน เราสามารถใช้แสงที่ไม่เหมือนกัน เพราะอะไรเราถึงทำแบบนั้น ?  เพราะบางทีการยึดติดกันกฏของธรรมชาติหรือหลักของเหตุผลมากเกินไปนั้น บางครั้งจะทำให้การสื่อสารอารมณ์ไปถึงคนดูนั้น ผิดเพี้ยนไปได้

-รูปบน จุดที่เราเน้นนั่นคือบริเวณแถวหน้าประตู เราสามารถให้ความสว่างมากเพื่อเน้นน้ำหนักไปที่จุดนั้นได้อย่างเต็มที่

-รูปล่าง รูปนี้สถานการการเล่าเรื่องไปเปลี่ยนไป เพราะเราต้องการเน้นที่ป้ายชื่อร้านแทน ดังนั้นการย้ายมาเน้นในจุดที่สมควร บางครั้งเราก็ต้องยอมลดแสงบางที่ลงไป เพื่อให้การแข่งขันกันระหว่างจุดเด่นและจุดรองลดลงไป

ถามว่าคนดูจะรู้สึกมั้ยว่ามันต่าง แทบไม่รู้เลยคะ เพราะการจัดแสงแบบเล่าเรื่อง จะทำให้คนดูอยู่กับเนื้อเรื่องและภาพจนไม่ได้มีเวลามาสนใจสิ่งเหล่านี้ แต่ส่วนมากเวลาเราทำ เราจะทำแบบตามสมควร ไม่ได้มากมายนักจนสังเกตเห็นได้



โปรดติดตามตอนต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Lighting based Composition 1

หัวข้อนี้เราจะมาพูดถึง การจัดแสงโดยเน้นความสวยงามของ Composition  มากกว่าเรื่องของความเป็นจริงในธรรมชาติ

ในโลกของงาน ศิลปะ เป็นโลกที่คุณจะไม่มีขีดจำกัดเรื่องของจิตนาการ และ ความเป็นไปได้ คุณสามารถจิตนาการถึง คนคนหนึ่งที่ขึ้นไปเดินเล่นบนดวงอาทิตย์ได้ โดยที่ไม่ได้มอดไหม้ไปเสียก่อนเพราะความร้อนระอุของดวงอาทิตย์ แต่ในทางกลับกัน

ในโลกของวิทยาศาสตร์ เป็นโลกที่เน้นในเรื่องเหตุและผล ทุกอย่างต้องมีการทดลองและพิสูจน์แล้ว ว่าเป็นความจริง ถ้าคุณบอกว่า คนคนหนึ่งที่ขึ้นไปเดินเล่นบนดวงอาทิตย์ได้ จะเป็นไปได้อย่างไร

ในโลกของวิทยาศาสตร์   1+1 = 2  เท่านั้น
ในโลกของศิลปะ              1+1= ?  อะไรก็ได้ แล้วแต่อารมณ์และจิตนาการของผู้ตอบ


ในงานของ Lighting  จะไม่ได้ใช้หลักการจะข้อใดข้อหนึ่งให้หัวข้อที่กล่าวมา แต่จะให้ทั้งสองข้อที่ควบคู่กันไป

งาน  Lighting = การเล่าเรื่อง ความนัยแอบแฝง + เหตุผลเรื่องความเป็นจริงในธรรมชาติ

แต่สัดส่วนความมากน้อยในการเน้น จะเป็นเรื่องของตัวงานด้วย

ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการทำานในส่วนในของการทำ ภาพยนตร์ Animation แทนทุกส่วนและทุกแผนก ต่างต้องใช้ความรู้การเล่าเรื่องด้วย  Composition  มาช่วยเสริมทั้งนั้น เช่น

- layout  มีกล้องเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเล่าเรื่อง 
- animation มีการเคลื่อนไหว acting ที่นำมาช่วยในการเล่าเรื่อง
- lighting มี แสง และการกำหนดระยะวัตถุ มาช่วยในการเล่าเรื่อง
- editing มีการตัดต่อมาช่วยในการเล่าเรื่อง
- sound  คือใช้เสียง Effect และเพลงประกอบต่างๆ มาช่วยในการเล่าเรื่อง ( ในงานอนิเมชั่น ที่ทำออกมาไม่ค่อยประสบความสำเร็จบางเรื่อง มีการทำเสียงที่ดี ช่วยได้มากจริงๆ คะ )

ทั้งน้ำทั้งนั้น ถ้าทุกส่วนทำงานด้วยกันอย่างลงตัว จะทำให้  ภาพยนตร์ Animation จะสื่อออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม


Lighting based Composition

 เดี๋ยวเราจะมาเริ่มศึกษาจากตัวอย่างกัน น่าจะทำให้เรามีความเข้าใจมากขึ้น



ชอทนี้ เล่าเรื่องผีดูเลือดกำลังจะดูเลือดจากซอกคอของสาวสวย สังเกตุแสงจุดที่ focus ชัดเจนมาก ซอกคอขาวสว่างโดดเด่น



 สังเกตุว่าแสงรอบนอกจากคอนั้น จะดูไม่สว่างมาก เพราะอาจจะไม่ต้องการให้เกิดความสว่างจนเกิดการแข่งกัน จนแย่งความสนใจไป

**** ส่วนมาก การจัดแสงใน ภาพยนตร์ หรือ Animation นั้น จะต่างจากงานจิตกรรม ภาพเขียน ในงานภาพเขียนนั้น มีจุดเด่นหลักเช่นกัน  บางทีจะมีรายละเอียดมากกว่า


เช่นภาพเขียนรูปนี้ มีจุดสนใจหลักอยู่ที่ คนบนหน้าผา แต่ก็ยังมีจุดที่เด่นรองลงมาเช่น น้ำตกด้านบน และ หมู่ก้อนเมฆ

แต่บางทีสำหรับ  ภาพยนตร์ หรือ Animation  จะลดทอนรายละเอียดลงไป เพื่อให้จุดเด่นชัดเจนมากขึ้นเหตุผลน่าจะเพราะเรื่องเวลา งานภาพเขียน เราสามารถมีเวลาดูภาพนาน ๆ เพื่อหาความหมายที่ศิลปินต้องการจะสื่อ ไล่ดูมุมต่างๆของ ภาพ แต่   ภาพยนตร์ หรือ Animation นั้น บางที 1 shot เรามีเวลาดูเพียง 1 วินาที หรือ ครึ่งวินาที ซึ่งเร็วมาก ผู้ชมแทบไม่มีเวลาไปดูรายละเอียดอื่นๆ ในเนื้อภาพที่เราใส่ลงไป ดังนั้นส่วนมากเราจะใส่ใจรายละเอียดมากใน shot ที่มีมุมกว้าง หรือ shot สำคัญ หรือเป็น long shot มากกว่า

ลองชมตัวอย่างต่อไป

 ชอทนี้ อยู่ในภาพยนตร์ เรื่อง Hero สังเกตุเห็นหรือไม่คะ จุดที่ในชอทนี้เน้น ชัดเจนมากจริงๆ


ชอทนี้จุดเด่นนะจะอยู่ที่กระบี่คะ มีการส่องแสง เน้นความเงาวับของกระบี่



ติดตามตอนต่อไป

วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Basic lighting จากรูปทรงพื้นฐาน

สำหรับคนที่กำลังเริ่มต้นจัดแสง ลองใช้วิธีนี้นะคะ จะทำให้เข้าใจ เรื่องแสงที่มีผลต่อรูปทรงมากขึ้น เพราะการจัดแสง ไม่ใช่เป็นเพียงการใส่ไฟไปตามตำแหน่งไฟจริง ของสถานที่นั้นๆ เท่านั้น แต่การจัดแสงยังต้องแสดงถึงรูปทรงที่ถูกต้องที่ควรจะเป็นด้วย เช่น ทรงกลม เราก็สามารถ เน้นให้วัตถุดูกลมได้ โดยการไม่พยายามใส่ไฟเข้าไปมากจนเกินไป จะทำให้ภาพดูแบนเกินไป





 ลักษณะการไล่น้ำหนัก ของแสงเงาในวัตถุรูปทรงแบบต่างๆ เหมือนที่คนเคยเรียนวาดรูปมาบ้าง จะพบในการเรียนวาดรูปพื้นฐานช่วงแรกๆ  นั่นล่ะ จริงแล้วคุณกำลังเรียนพื้นฐานเพื่อนำมาใช้ในการจัดแสงโดยคุณไม่รู้ตัวเลย




 องค์ประกอบต่างๆ ที่จะช่วงทำให้ภาพดูมีมิติมีดังต่อไปนี้ โดยจากการศึกษาจากวัตถุรูปทรงที่น่าจะเข้าใจง่ายที่สุด นั้นคือวงกลมนั่นเอง

- Highlight  คือส่วนที่สว่างที่สุด ถ้าเป็นวัตถุที่มีความมันเงามาก ส่วนนี้อาจจะเรียนว่า specular

- Light  คือ ส่วนถัดมา จะลดความสว่างลงมาจาก  Highlight  1 step ยังคงความสว่างไว้ เป็นส่วนที่เป็น  เนื้อผิวที่แสงมากระทบ เป็นบริเวณกว้างกว่า Highlight แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัสดุด้วยคะ ว่ามีลักษณะ พื้นผิวแบบใด บางทีวัตถุมันเงาที่เป็นสีดำ จะไม่มีส่วนของ light เลย เพราะวัตถุสีดำจะดูดกลืนแสงไว้ทั้งหมด


ตัวอย่างวัตถุสีดำ สังเกตุว่าจะมีแต่ specular and reflection เท่านั้น
http://ok.ya1.ru/uploads/posts/2010-05/1273497500_large_black_ball_is.jpg


 - Shadow  คืนอีก step หนึ่งที่สีเข้มลงมาอีก
 - Core Shadow คือเหมือนแกนของเงา shade จะเข้มที่สุด ถ้าไม่นับเงาหุ่นที่ตกลงพื้นของ ( cast shadow)
 - Reflected Light คือ แสงที่ตกกระทบบนพื้น และ สะท้อนขึ้นมาบนรูปทรงกลม หรือเรียกอีกอย่าง ว่า   bounce light
 - Cast Shadow คือเงาที่เกิดจากแสงที่ตกกระทบทรงกลม

ทั้งหมดนี้ ยังเป็นศัพท์ที่พบบ่อยมาก สำหรับคนที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องการจัดแสง ต่อไปเรามาลองจัดแสงวัตถุรูปทรงพื้นฐานเหล่านี้กัน
 

รูปต้นแบบของการลำลองแสง ธรรมชาติ ที่เราจะเอามาประยุกต์กับการจัดแสงใน 3D

 วาง Layout


จัดแสงและ เรนเดอร์ออกมาแล้ว ไม่ใช้  FG and GI



****  โปรดอย่าทำภาพเหล่านี้ไปเป็นการบ้านส่งอาจารย์ หรือตัดต่อเปลี่ยนแปลงเพื่อทำเป็นผลงานของตัวเองนะคะ ถึงคนทำ Blog จะไม่ทราบ แต่มันเป็นสิ่งที่คุณไม่ควรทำอยู่แล้วนะคะ ***

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Lighting Wall C scene

งานจัดแสง แนวหนังวิทยาศาสตร์  แนวคิดมาจากการจัดแสง mood and tone เลียนแบบชอทในหนัง animation เรื่อง  Cloudy with a chance of  Meatballs


 

ชอทนี้คือชอทที่เลือกมาเป็นต้นแบบ เพื่อใช้ดูสี mood and tone เป็นชอทในห้อง lab แสงบรรยากาศเป็นโทนน้ำเงิน  มี key light เป็นสีส้มอ่อนๆ ทิศทางแสงโฟกัสไปที่ ตัวพระเอก 



scene  ใน 3D download มาจาก web  http://www.3drender.com/challenges/

ขั้นแรกเริ่มจากการจัด BG ก่อน แต่ทำไมต้องจัด BG ก่อน ? ... ส่วนมาก คนที่เพิ่งทำงานเกี่ยวกับการจัดแสง มักจะชอบจัด ทั้ง scene ใช้แสงอยู่ชุดเดียวทั้ง ฉากหลังและตัวละคร หรือ ไม่ก็จัดแสง ตัวละครก่อนเพราะง่ายกว่า ส่วนฉากหลัง ไม่เป็นไรเอาไว้ที่หลัง  แต่จริงๆ แล้ว ข้อดีของการจัดแสงฉากหลังก่อนนั้นจำเป็นมาก เพราะฉากหลังจะเป็นตัวกำหนดแสง ทั้ง key light fill light and rim light ที่จะเข้าสู่ตัวละคร


แสง BG โดยจะมีบางสวนที่ Glow อยู่แล้วจาก Shader



แสงตัวละคร  โดยใช้ไฟคนละชุดกับ BG



เรนเดอร์แยก  passes มา Composite ต่อ 



Final Shot






****  โปรดอย่าทำภาพเหล่านี้ไปเป็นการบ้านส่งอาจารย์ หรือตัดต่อเปลี่ยนแปลงเพื่อทำเป็นผลงานของตัวเองนะคะ ถึงคนทำ Blog จะไม่ทราบ แต่มันเป็นสิ่งที่คุณไม่ควรทำอยู่แล้วนะคะ ***