ลักษณะการไล่น้ำหนัก ของแสงเงาในวัตถุรูปทรงแบบต่างๆ เหมือนที่คนเคยเรียนวาดรูปมาบ้าง จะพบในการเรียนวาดรูปพื้นฐานช่วงแรกๆ นั่นล่ะ จริงแล้วคุณกำลังเรียนพื้นฐานเพื่อนำมาใช้ในการจัดแสงโดยคุณไม่รู้ตัวเลย
องค์ประกอบต่างๆ ที่จะช่วงทำให้ภาพดูมีมิติมีดังต่อไปนี้ โดยจากการศึกษาจากวัตถุรูปทรงที่น่าจะเข้าใจง่ายที่สุด นั้นคือวงกลมนั่นเอง
- Highlight คือส่วนที่สว่างที่สุด ถ้าเป็นวัตถุที่มีความมันเงามาก ส่วนนี้อาจจะเรียนว่า specular
- Light คือ ส่วนถัดมา จะลดความสว่างลงมาจาก Highlight 1 step ยังคงความสว่างไว้ เป็นส่วนที่เป็น เนื้อผิวที่แสงมากระทบ เป็นบริเวณกว้างกว่า Highlight แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัสดุด้วยคะ ว่ามีลักษณะ พื้นผิวแบบใด บางทีวัตถุมันเงาที่เป็นสีดำ จะไม่มีส่วนของ light เลย เพราะวัตถุสีดำจะดูดกลืนแสงไว้ทั้งหมด
ตัวอย่างวัตถุสีดำ สังเกตุว่าจะมีแต่ specular and reflection เท่านั้น
http://ok.ya1.ru/uploads/posts/2010-05/1273497500_large_black_ball_is.jpg
- Shadow คืนอีก step หนึ่งที่สีเข้มลงมาอีก
- Core Shadow คือเหมือนแกนของเงา shade จะเข้มที่สุด ถ้าไม่นับเงาหุ่นที่ตกลงพื้นของ ( cast shadow)
- Reflected Light คือ แสงที่ตกกระทบบนพื้น และ สะท้อนขึ้นมาบนรูปทรงกลม หรือเรียกอีกอย่าง ว่า bounce light
- Cast Shadow คือเงาที่เกิดจากแสงที่ตกกระทบทรงกลม
ทั้งหมดนี้ ยังเป็นศัพท์ที่พบบ่อยมาก สำหรับคนที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องการจัดแสง ต่อไปเรามาลองจัดแสงวัตถุรูปทรงพื้นฐานเหล่านี้กัน
รูปต้นแบบของการลำลองแสง ธรรมชาติ ที่เราจะเอามาประยุกต์กับการจัดแสงใน 3D
วาง Layout
จัดแสงและ เรนเดอร์ออกมาแล้ว ไม่ใช้ FG and GI
**** โปรดอย่าทำภาพเหล่านี้ไปเป็นการบ้านส่งอาจารย์
หรือตัดต่อเปลี่ยนแปลงเพื่อทำเป็นผลงานของตัวเองนะคะ ถึงคนทำ Blog
จะไม่ทราบ แต่มันเป็นสิ่งที่คุณไม่ควรทำอยู่แล้วนะคะ ***
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น